Sustainable Tourism Innovation 2024 กิจกรรมการแข่งขันนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ปี 2567

Sustainable Tourism Innovation 2024
กิจกรรมการแข่งขันนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ปี 2567

รูปแบบของการจัดการแข่งขัน

รุ่นนักเรียน/นักศึกษา
รุ่นประชาชนทั่วไป

รูปแบบของนวัตกรรมการประกวด
รูปแบบนวัตกรรมที่จับต้องได้
เช่น ผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี แอปพลิเคชัน
เป็นนวัตกรรมที่เป็นชิ้นงาน
เป็นแนวคิดหรือผลงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
สามารถใช้งานได้จริง มีการสร้างขึ้นโดยใช้วัสดุ และ/หรือ อุปกรณ์ในการนำเสนอเพื่อการแข่งขัน
เป็นนวัตกรรมใหม่ หรือแตกต่างจากนวัตกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน

รูปแบบนวัตกรรมความคิด
เช่น บริการ หรือกระบวนการใหม่ ๆ
เป็นนวัตกรรมการคิดในแนวสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมสิ่งใหม่ ๆ ที่สามารถแก้ปัญหาของผู้ใช้งานได้
เป็นแนวคิดหรือผลงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
เป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการใช้งานในอนาคต
เป็นนวัตกรรมใหม่ ความคิดใหม่ หรือแตกต่างจากนวัตกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน

Theme Foward Voyage
(นวัตกรรมเพื่อการยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา)

นวัตกรรมของการแข่งขัน
จะต้องตอบโจทย์การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ ด้านใด ด้านหนึ่ง

1. ด้านเศรษฐกิจ (ด้วยโมเดล BCG Tourism)
BCG Tourism คือการนำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวมาประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ แปรรูปผลิตผลอย่างเป็นระบบมีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร ลดการใช้พลังงานและปริมาณขยะ ไม่สร้างมลพิษหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งสามารถอธิบายคร่าว ๆ ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละด้าน ดังนี้
1. แนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ
คือการนำเอาเทคโนโลยีมาจัดการกับผลผลิต ในรูปแบบฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farming ที่เน้นการดูแลผลผลิตแบบเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร มีการดูแลกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ ปลอดสารเคมี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามวิถีอินทรีย์
2. แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน
คือการนำเอาผลิตผลหรือบริการในแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นชุมชนท้องถิ่น มาทำให้เกิดการหมุนเวียน
ด้วยการวางแผนอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การออกแบบการผลิตที่ต้นทาง เพื่อให้วัตถุดิบถูกใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และนำกลับมาใช้ซ้ำหรือปรับปรุงใหม่ได้
ซึ่งเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้วัถตุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน รวมถึงสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้มากขึ้น
3. แนวทางเศรษฐกิจสีเขียว
คือการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการไม่ใช้สารเคมี และลดปริมาณของเหลือทิ้งหรือขยะลง ตลอดจนสามารถนำขยะไปแปรรูปให้เกิดมูลค่าได้

  1. ด้านสังคมวัฒนธรรม (Creative Tourism)

การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ถือเป็นแนวทางหรือทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ต่อยอด และเผยแพร่ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้นำไปสู่การสร้างมูลค่าและโอกาสทางเศรษฐกิจ รวมถึงกระบวนการทางสังคมและการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน โดยมีหลักการที่สำคัญ 7 ประการ ดังนี้

  1. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  2. การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและทรัพยากรในท้องถิ่น
  3. การสร้างสรรค์และการใช้ประโยชน์วัฒนธรรม
  4. การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
  5. การสร้างกระบวนการเรียนรู้
  6. การยกระดับคุณภาพชีวิตของตคนในชุมชนท้องถิ่นด้วยวัฒนธรรม

 

  1. ด้านสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism)

การท่องเที่ยวที่ทั้งผู้มาเยือนและเจ้าบ้าน (เจ้าของพื้นที่) มีความรับผิดชอบ ตระหนักถึงความยั่งยืนและร่วมกันลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อรักษาทรัพยากรให้คงอยู่ต่อไป

 

  • นวัตกรรมการลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม
  • นวัตกรรมการนำสิ่งแวดล้อมมาสร้าง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้นสำหรับคนในท้องถิ่น
  • นวัตกรรมสร้างการมีส่วนร่วมในเชิงบวกต่อการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ
  • การมอบประสบการณ์ที่สนุกสนานยิ่งขึ้นแก่นักท่องเที่ยวผ่านการเชื่อมโยงที่มีความหมายกับคนในท้องถิ่น และความเข้าใจในประเด็นสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมากขึ้น

 

เงื่อนไขการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

  1. รับสมัครเป็นทีม โดยสมาชิกในทีมต้องมีจำนวน 1-4 คน
  2. ผู้สมัครต้องมีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป (ณ วันที่รับสมัคร) (นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชนทั่วไป)
  3. ในกรณีที่เป็นสถาบันการศึกษาส่งเข้าประกวด สามารถส่งทีมแข่งขันได้ไม่จำกัด (เฉพาะจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา)
  4. ผู้เข้าแข่งขันสามารถส่งผลงานประดิษฐ์ได้ไม่จำกัดจำนวน หากผลงานเข้ารอบมากกว่า 1 ผลงาน ทางโครงการฯ จะขออนุญาตให้สิทธิ์ทีมแข่งขันคัดเลือกผลงานได้ 1 ผลงานเท่านั้น
  5. ไม่สามารถเปลี่ยนตัวสมาชิกในกลุ่มได้ ยกเว้นในกรณีสุดวิสัย

และต้องผ่านการพิจารณาและได้รับอนุมัติจากหน่วยงาน อพท. เท่านั้น

 

ขั้นตอนการสมัคร

  1. ทีมแข่งขันจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 18 มีนาคม – 30 เมษายน 2567
  2. ทีมแข่งขัน 1 ทีม จะต้องกรอกเอกสารและแนบเอกสารในลิงก์ที่โครงการฯ กำหนดให้ถูกต้อง และครบถ้วน

โดยจะประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วนคือ

ข้อมูลทั่วไปของทีมแข่งขันประกอบด้วย ชื่อหัวข้อผลงาน ข้อมูลสมาชิกทุกคนในทีม และข้อมูลอื่น ๆ ตามที่โครงการฯ กำหนด

  • ชื่อทีม
  • ชื่อสมาชิกทีม
  • ชื่อผลงาน
  • ชื่อสถาบันของท่าน (ถ้ามี)

เนื้อหานวัตกรรมสำหรับการส่งเพื่อแข่งขัน

  • คลิปวิดีโอการนำเสนอ (ไม่เกิน 5 นาที) นำเสนอแนวคิดหรือการทำงานของผลงาน
  • สภาพปัญหา/ที่มาและความสำคัญของปัญหา (Pain Points)
  • อธิบายแนวคิดและการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ (ในรูปแบบนวัตกรรมที่จับต้องได้) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดในด้านต่าง ๆ
  • อธิบายแนวคิด (ในรูปแบบนวัตกรรมความคิด) ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดในด้านต่าง ๆ
  • อธิบายแนวคิดของสิ่งประดิษฐ์หรือแนวคิด ที่จะสามารถสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ได้อย่างไร
  • ภาพร่างผลงาน
  • เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)



Scroll to Top